อาการซึมเศร้าเพราะ สูบบุหรี่จัด
จากการศึกษาวิจัยความสัมพันธ์
ของการสูบบุหรี่และภาวะอา การเจ็บป่วยทางจิตเวช
ซึ่งผู้ป่วยมีโอกาสที่จะสูบบุหรี่สูงและมักสูบในปริมาณมาก
มีการเสพติดนิโคตินในระดับสูงมาก การสูบบุหรี่จะส่งผลกระทบต่อสุข
ภาพจิตโดยตรง ส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้า
และมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงกว่าผู้ป่วยที่ไม่สูบบุหรี่มาก
ทั้งนี้ ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติที่ทำการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประ ชากรปี 2547 พบว่ามีผู้สูบบุหรี่ประจำถึง 9.6 ล้านคน เป็นเพศชาย 9,627,686 คน เพศหญิง 525,695 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้ที่ได้รับการศึกษาระดับประถมศึกษาและต่ำกว่า 6.2 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 64 ของผู้สูบบุหรี่
โดยส่วนมากพบว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีผู้สูบบุหรี่มากที่สุดคือ 3.5 ล้านคน และกรุงเทพมหานครมีผู้สูบบุหรี่น้อยที่สุดคือ 858,420 คน นอกจากนั้นยังพบว่าการเจ็บป่วยจากการสูบบุหรี่เป็นภาระโรคอันดับที่ 2 ของคนไทย รองจากโรคเอดส์เลยทีเดียว
ส่วนโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยมากที่ สุดคือ โรคหัวใจและโรคมะเร็ง ปัจจุ บันคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคจากการสูบบุหรี่ปีละ 52,000 คน เฉลี่ยวันละ 142 คน หรือตกชั่วโมงละ 6 คนเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมีโอกาสป่วยเป็นโรคซึมเศร้าอีกด้วย
ความน่ากลัวของการสูบบุหรี่ ผลเสียของบุหรี่นั้นต้องดูว่ามีส่วนประกอบอะไรบ้าง ซึ่งจำแนกเป็นสารต่างๆที่มีอยู่ในบุหรี่ได้ดังนี้
1.นิโคติน (Nicotine) เป็นสารอัลคาลอยด์ (Alkaloid) มีลักษณะเป็นน้ำมัน ไม่มีสี นิโคตินมีในควันบุหรี่ประมาณ 95% จะเข้าไปจับอยู่ในปอด บางส่วนจับอยู่ที่เยื่อหุ้มริมฝีปาก และบางส่วนถูกดูดซึมเข้ากระ แสเลือด มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลางและต่อมหมวกไต ทำให้ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว หลอดเลือดรัดตัว นิโค ตินเป็นสารสำคัญในบุหรี่ที่ทำ ให้เสพติด ต้องสูบอยู่เรื่อยๆ แต่เลิกสูบยาก
2.ทาร์ (Tar) เป็นน้ำมันเหนียวข้น สีน้ำตาล เมื่อสูบบุหรี่ ทาร์ที่เข้าไปพร้อมกับควันบุหรี่จะจับอยู่ที่ปอด ทำให้ระ คายเคือง มีอาการไอ ถุงลม ในปอดขยาย และทำให้เป็นมะเร็งได้
3.คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbonmonoxide) เป็น ก๊าซจากควันบุหรี่ที่ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อยลง รู้สึกอ่อน เพลีย หายใจสั้น เหนื่อยง่าย อาจจะหน้ามืดเป็นลม และถ้ามีปริมาณคาร์บอนมอนอกไซด์ในเลือดสูงถึง 60% ก็อาจเสียชีวิตได้
4.ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (Hydrogencyanide) ก๊าซ ชนิดนี้จะเข้าไปทำลายเยื่อบุหลอดลมชนิดมีขน ทำให้สิ่งแปลกปลอมผ่านเข้าไปทำลายหลอดลม ก่อให้เกิดอาการไอ มีเสมหะ และหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
5.ไนโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogendioxide) เป็นก๊าชที่สามารถทำลายเยื่อหลอดลม ทำให้ถุงลมโป่งพอง
6.แอมโมเนีย (Ammo nia) เป็นสาเหตุที่ทำให้หลอด ลมอักเสบ
7.สารกัมมันตภาพรังสี ในควันบุหรี่มีรังสีแอลฟาอยู่ ซึ่งรังสีชนิดนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง
8.แร่ธาตุต่างๆ ซึ่งเป็นสารที่ตกค้างอยู่ในใบยาสูบจากการพ่นยาฆ่าแมลง เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดภาวะเป็นพิษได้
ผลเสียของการสูบบุหรี่
1.เกิดโรคต่างๆ คือ โรคมะเร็งที่อวัยวะต่างๆ เช่น มะ เร็งในปอด มะเร็งในช่องปาก มะเร็งที่กล่องเสียง มะเร็งที่ลำคอ โรคหลอดลมอักเสบ โรคไอเรื้อรัง โรคถุงลมในปอดโป่งพอง โรคหลอดเลือดแดงแข็งตัว โรคกระเพาะอาหาร โรคความดันโลหิต โรคสมองเสื่อมสมรรถ ภาพ และโรคหัวใจ เป็นต้น
2.สิ้นเปลืองเงินที่ต้องจ่ายเป็นค่าบุหรี่
3.เสียนิสัย เพราะคนที่สูบบุหรี่เป็นประจำ เมื่อมีความต้องการสูบบุหรี่แล้วไม่ได้สูบก็จะหงุดหงิด อารมณ์เสียอย่างไร้เหตุผล
4.ทำให้อากาศเป็นพิษ 5.เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีของบุตรหลานและเยาวชนอื่นๆ
6.มีกลิ่นปาก ฟันดำ ฟันผุ 7.เสื่อมสมรรถภาพทางเพศทั้งชายและหญิง
8.อายุสั้น การสูบบุหรี่ 1 มวน ทำให้อายุสั้นลงประมาณ 5 นาที
9.ทำให้ผู้ที่อยู่ใกล้เคียงเดือดร้อนรำคาญ
10.หญิงมีครรภ์ที่สูบบุหรี่จะมีผลกระทบต่อทารกในครรภ์ อาจทำให้แท้งหรือเกิดมาไม่แข็งแรง แคระแกร็นผิดปรกติ และอาจทำให้ทารกในครรภ์ตายง่ายอีกด้วย
สำหรับวิธีการหลีกเลี่ยงบุหรี่อย่างง่ายๆ
สำหรับผู้ที่คิดจะลองสูบ และผู้ที่สูบบุหรี่จน ถึงขั้นเสพติดมีดังนี้
1.งดเข้าร้านเหล้า ผับ บาร์ หมายถึง งดดื่มเหล้าเข้าสถานเริงรมย์ หรือพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการสูดควันพิษ หรือแม้กระ ทั่งสูบเอง
2.ฝึกพูดคำว่า "ไม่" ด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม
3.ตระหนักถึงพิษภัยของบุหรี่ให้เท่ากับที่ตระหนักถึงสารอาหารในแต่ละครั้งที่รับประ ทานเข้าไป
4.เตือนสติตัวเองทุกครั้งว่าบุหรี่คือสิ่งที่ฆ่าคนมากที่สุดอย่างหนึ่ง และมากกว่าสิ่งที่คนกลัว เช่น ผีสาง หรือสัตว์ดุร้ายต่างๆ
5.เมื่อมีเวลาว่างให้หยิบหนังสือหรือทำสิ่งที่เกิดประโยชน์ เพื่อให้มือไม่ว่าง และถ้าหากมีความตั้งใจแล้วไม่ไหวลองมาปรึกษากับทีมผู้รักษาเพื่อเข้าสู่ กระบวนการบำบัดต่อไป
คงทราบถึงอันตรายและความน่ากลัวของบุหรี่กันไปบ้างแล้ว หากท่านเป็นผู้หนึ่งที่ติดบุหรี่ และไม่สามารถเลิกบุหรี่ได้ แต่มีความตั้งใจที่จะเลิก ก็สามารถปรึกษาทีมบุคลากรผู้เชี่ยวชาญทั่วไปได้ แต่หากใครที่ไม่สนใจว่าตัวเองจะเป็นอย่างไร จะเป็นโรคอะไร ตั้งหน้าตั้งตาสูบอย่างเดียว อย่างน้อยก็ขอให้คิดถึงครอบครัวและคนรอบข้างบ้างก็ยังดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น